รายละเอียดเบื้องต้นของงานสัมมนาเรื่อง “ระเบียงเศรษฐกิจ: วิธีใช้ใกล้แค่เอื้อม” Economic Corridor & Trade Facilitation: Thailand Contextระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridor)ภายใต้โครงการความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region: GMS) เป็นพื้นที่เศรษฐกิจตามเส้นทางคมนาคมทางบกที่เชื่อมโยงประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอาทิ ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) ที่เชื่อมพม่าไทยสปป.ลาวและเวียดนาม (เส้นทาง R9) ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC) เชื่อมจีนตอนใต้สปป.ลาว/พม่าและ ไทย (เส้นทาง R3A/R3B) และจีนตอนใต้กับเวียดนาม (เส้นทาง R12) ส่วนระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) นั้นเชื่อมโยงระหว่างไทยกัมพูชาและเวียดนาม (เส้นทาง R1 และ R10)ในอดีตการใช้ประโยชน์พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจเพื่อการค้าระหว่างประเทศยังคงมีอุปสรรคเนื่องจากข้อจํากัดทางการค้า ที่ไม่เอื้อต่อการนําเข้าและส่งออกรวมทั้งเกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังประเทศผู้นําเข้าหรือที่ เรียกกันว่าเป็นอุปสรรคที่เกี่ยวกับ “สิ่งอํานวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation)” ซึ่งได้กลายเป็นประเด็นสําคัญ ในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคี ทั้งนี้เนื่องจากกฎเกณฑ์ภายใต้กรอบ WTO ได้ ช่วยขจัดอุปสรรคทางการค้าในรูปภาษี (Tariff Barriers) และไม่อยู่ในรูปภาษี (Non-Tariff Barriers) ออกไปทําให้อุปสรรค ทางการค้าระหว่างประเทศเปลี่ยนมาเป็นมาเป็นอุปสรรคที่เกิดจากสิ่งอํานวยความสะดวกทางการค้าแทนจากการศึกษาพบว่าสิ่งอํานวยความสะดวกทางการค้าซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่จับต้องได้ เช่นโครงสร้างพื้นฐานที่ เอื้ออํานวยต่อการดําเนินธุรกรรมทางการค้าระบบการขนส่งสินค้าและสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ เช่นกระบวนการและ กฎระเบียบด้านพิธีการศุลกากรหรือกฎระเบียบว่าด้วยมาตรฐานสากล รวมทั้งการเชื่อมโยงระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ ภายใน GMS ยังไม่สมบูรณ์มากนักและมีความจําเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆโดยเฉพาะถนนสถานีบริการน้ำมัน และที่พักระหว่างทางรวมทั้งบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอื่นๆที่ต้องเร่งก่อสร้างเพิ่มเติมรวมทั้งสิ่งอํานวยความสะดวก ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการและกฎระเบียบด้านพิธีการศุลกากรโดยธนาคารโลก (World Bank) ได้จัดอันดับดัชนีด้านสิ่งอํานวย ความสะดวกทางการค้าของไทยอยู่ในลําดับที่ 35 จาก 183 ประเทศในปี พ.ศ.2549-2553 โดยเป็นลําดับที่ 3 ในอาเซียนรอง จากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียและยังมีระดับสิ่งอํานวยความสะดวกทางการค้าที่ตํ่ากว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก หลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นเกาหลี และจีน สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ตระหนักถึงความสําคัญในเรื่องดังกล่าวจึงได้ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ :
| |
สิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าและผลกระทบต่อการค้าของประเทศไทย | |
ดร.ปิยนุช วุฒิสอน (NESDB) | |
พีรเมศร์ วุฒิธรเนติรักษ์ (NEDA) | |
รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ (TU) | |
สมศักดิ์ วิเศษเรืองโรจน์ (TIFFA) | |
Activities Information
Activity start :
Activity end :
Cut off date :