ปัจจุบันจะเห็นว่าการพัฒนาระดับโลกและระดับภูมิภาคที่ผ่านมานั้น มีทิศทางของการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ อาทิ เช่น การรวมกลุ่มอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือเป็นหลักฐานที่สำคัญของการขยายตัวทางการค้าในภูมิภาคที่เพิ่มสูงขึ้น และการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและอินเดียนั้นยังเป็นแหล่งที่มาของการนำเข้าและเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของเอเชีย ประเทศในภูมิภาคเอเชียจึงมีการแข่งขันกันมากขึ้น จะเห็นได้จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015 นี้ ซึ่งเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการค้าซึ่งได้กลายเป็นปัจจัยที่สำคัญของการเจริญเติบโตในภูมิภาค ซึ่งจะเห็นว่า การค้าทั้งในสินค้าและบริการได้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้องมีความเข้าใจบริบทของหน่วยงานองค์การการค้าโลก ผู้กำหนดนโยบายด้านการค้าโลก อาทิ WTO UNCTAD เพื่อที่ให้มีความเข้าใจและทราบนโยบายโลก และสามารถนำมาปรับใช้ในการกำหนดนโยบายการค้าภายในของแต่ละประเทศของภูมิภาคเอเชียที่สอดคล้องและเหมาะสมร่วมกันเพื่อการพัฒนา และเติบโตอย่างมั่นคงทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างยั่งยืน และประกอบกับสถาบันฯเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (The United Nations Conference on Trade and Development – UNCTAD) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษาอบรมและให้การสนับสนุนเพื่อการค้นคว้าวิจัยแก่บุคลากรจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ทั้งในด้านการค้าระหว่างประเทศ การเงิน การคลัง การลงทุน การพัฒนา และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บุคลากรเหล่านั้นสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถในการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจที่เหมาะสมร่วมกัน ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค และสร้างความเป็นเอกภาพ โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการจัดฝึกอบรมและกิจกรรมเสริมศักยภาพต่างๆ ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา และองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ ประกอบกับการเข้าสู่ปีที่ 14 แห่งการก่อตั้ง ITD ที่จะมุ่งเน้นถึงความสำคัญต่อการค้าและการพัฒนาภายในประชาคมอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ UNCTAD ในด้านการค้าและการพัฒนาแห่งศตวรรษที่ 21 การค้าและการพัฒนาในบริบทสหัสวรรษแห่งการพัฒนา (Millennium Development Goals : MDGs) เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) และการเชื่อมโยงระหว่างการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2558 กับวาระแห่งการพัฒนาภายหลังปี 2558 เพื่อประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อของประเทศและภูมิภาคเอเชีย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่สนับสนุนส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยและการพัฒนาในประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ
ด้วยเหตุนี้ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) จึงตระหนักถึงประโยชน์จากนโยบายของ UNCTAD (Trade and Development Report) ดังกล่าว ซึ่งถือเป็นองค์การระหว่างประเทศหลักที่ได้ดำเนินการจัดทำข้อมูลรายงานที่สำคัญที่รวบรวมองค์ความรู้และวิเคราะห์ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการพัฒนาเอาไว้อย่างครอบคลุมทุกมิติของการค้า อีกทั้ง Trade Policy Review ซึ่ง WTO กำหนดให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศต้องจัดทำนโยบายการค้า รวมทั้งนโยบายการค้าเป็นประจำ เพื่อแสดงความโปร่งใสของการกำหนดนโยบายตลอดจนเพื่อให้ประเทศสมาชิก WTO อื่นๆได้รับและเข้าใจนโยบายการค้าของประเทศสมาชิกที่ได้รับการทบทวน และได้เรียนรู้ วิเคราะห์นโยบายทางการค้า ทั้งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการค้าโลก เพื่อมีความเข้าใจนโยบายโลก มาปรับใช้ในการวิเคราะห์ และกำหนดนโยบายภายในประเทศและดำเนินการ อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะประเทศสมาชิกใหม่ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ที่เข้าร่วมสมาชิกสมาคมเศรษฐกิจอาเซียนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ในปี 2540 และราชอาณาจักรกัมพูชา ที่เข้าร่วมสมาชิกในวันที่ 9 เมษายน 2542 ยิ่งต้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องทางการค้าของแต่ละประเทศได้ตระหนักถึงความสำคัญของนโยบายโลกที่มีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดนโยบายภายในประเทศที่เหมาะสมร่วมกัน เพื่อระดมความคิดเห็นระหว่างผู้เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย รวมทั้งแนวทางการแสวงหาความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อการวางแผนและกำหนดนโยบายในการพัฒนาด้านการค้าและการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้บุคลากรทางการค้าและเศรษฐกิจเข้าใจสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจด้านการค้าและการลงทุนภายในประเทศและระหว่างประเทศที่มีผลต่อการกำหนดยุทธ์ศาสตร์ทางการค้าระหว่างประเทศและยุทธศาสตร์การค้าของอาเซียน
- เพื่อให้บุคลากรทางการค้าและเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ทางการค้าระหว่างประเทศและกำหนดกรอบนโยบายการค้าที่เหมาะสมร่วมกันในภูมิภาค
- เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทางด้านการค้าและการพัฒนามีความเข้าใจบริบทการค้าโลกทั้งด้านประวัติความเป็นมา และนโยบายข้อมูลปัจจุบันได้ทราบ เพื่อนำมากำหนดนโนยบายในประเทศให้มีความเหมาะสม ในแนวทางเดียวกันกับภูมิภาคเพื่อการพัฒนายกระดับเศรษฐกิจในภูมิภาคได้อย่างเหมาะสมร่วมกันและอย่างยั่งยืน
- เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายจากด้านด้วยการค้าและการพัฒนาของหน่วยงานผู้กำหนดนโยบายการค้าโลก อาทิ WTO UNCATD
- เพื่อระดมความคิดเห็นระหว่างผู้เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือและได้ทราบ ข้อมูลแนวทางการค้าโลกในปัจจุบัน ให้กับผู้เกี่ยวข้องในภูมิภาคเอเชีย ได้รับทราบ โดยข้อมูลที่เป็นปัจจุบันต่างๆ เหล่านี้ จะมีประโยชน์อย่างมากต่อประเทศกำลังพัฒนาในการวางแผนและกำหนดนโยบายด้านการค้าและการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อได้แนวทางแผนการพัฒนาภูมิภาคอย่างเหมาะสมร่วมกันและยั่งยืนต่อไป
- เพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน นอกจากนั้นเป็นการยกระดับมาตรฐาน เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศนั้นๆและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับประเทศและในระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืน
- เพื่อแสดงความโปร่งใสของการกำหนดนโยบาย ตลอดจนเพื่อให้ประเทศสมาชิก WTO อื่นๆ ได้รับข้อมูลและมีความเข้าใจนโยบายการค้าของประเทศสมาชิกที่ได้รับการทบทวน
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้ทำหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายด้านการค้าและการพัฒนาของประเทศกัมพูชา จำนวนประมาณ 120 คน
เอกสารแนบ
วันที่จัดกิจกรรมและสถานที่จัดงาน
ระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2559 ณ. Trade Training & Research Institute Division, Ministry of Commerce, Phnom Penh, Cambodia
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
นางสาวนิภาพรรณ ไชยพันธุ์ เจ้าหน้าที่ประสานงานฝึกอบรม
นายนันทวุฒิ นุ่นสพ นักบริหารงานทั่วไป
สำนักความร่วมมือและช่วยเหลือภูมิภาค
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
โทรศัพท์: 02 216 1894 – 7 ต่อ 114
Activities Information
Activity start :
Activity end :