หลักการและเหตุผล
เศรษฐกิจโลกในยุคปัจจุบันมีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ทำให้ประเทศต่างๆ หันมาดำเนินนโยบายการค้าและการลงทุนอย่างเสรี รวมถึงสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างโอกาสทางการค้า ตลอดจนดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาดำเนินธุรกิจภายในประเทศ จึงถือได้ว่าการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม การที่เศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างรวดเร็ว สะท้อนให้เห็นถึงระบบเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดการผูกขาดหรือการเอารัดเอาเปรียบทางการค้า นอกจากนี้ อัตราการแข่งขันที่สูง ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน และทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามมา ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการสร้างความเชื่อมั่นในด้านการค้าและการลงทุนทั้งในระดับประเทศและระดับระหว่างประเทศ ดังนั้น การป้องกัน การตรวจสอบ และการเฝ้าระวังการทุจริต คอร์รัปชัน โดยใช้เครื่องมือบัญชีนิติการ (Forensic Accounting) ตลอดจนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ การค้า การลงทุน อย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) จะเป็นแนวทางที่สำคัญในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากปัญหาดังกล่าว ตลอดจนเป็นการช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาดำเนินธุรกิจภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตมากยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุนี้ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ได้กำหนดจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน: การตรวจสอบและการป้องกันการทุจริต คอร์รัปชันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ให้กับบุคลากรจากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน รวมถึงพัฒนากระบวนการเรียนรู้และปรับกระบวนทัศน์เกี่ยวกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในภาคธุรกิจ การค้าและการลงทุน เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ ตลอดจนสร้างแนวปฏิบัติในการป้องกันปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน และการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนสืบต่อไป
วัตถุประสงค์
1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจถึงหลักความเชื่อมโยงของสิทธิมนุษยชนกับการทุจริตในภาคธุรกิจ และ
เสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน ที่เกิดขึ้นในภาคธุรกิจ การค้า และการลงทุน
2 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาและความเสี่ยงของการเกิดการทุจริต คอร์รัปชันในองค์กร
ตลอดจนสามารถนำหลักการบัญชีนิติการมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกัน และพิสูจน์ความเสี่ยงของการเกิดการทุจริต คอร์รัปชัน ในภาคธุรกิจ การค้า และการลงทุน
3 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) และสามารถนำหลักการดังกล่าวไปใช้ในการจัดทำแนวนโยบายป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ
4 สามารถนำความรู้ด้านการป้องกัน และการตรวจสอบการทุจริต คอร์รัปชัน ตลอดจนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากร พนักงานเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จำนวนไม่เกิน 60 คน
เอกสารประกอบการสัมนา
6 พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2562
41 สรุปประเด็นสำคัญ คู่มือ ป.ป.ช.42 คู่มือ ป.ป.ช.
วันที่จัดกิจกรรมและสถานที่จัดงาน
วันที่ 6 – 7 มิถุนายน 2562 ณ ห้องซัมเมอร์เซ็ท บอลรูม ชั้น 5 โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน
วัชฤทธิ์ บำรุงพงศ์
สำนักพัฒนาขีดความสามารถทางการค้าและการพัฒนา
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
โทรศัพท์: 02 2161898 – 9 ต่อ128
Activities Information
Activity start :
Activity end :