หลักการและเหตุผล
การลงทุนถือเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของอารยประเทศ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่จะนำไปสู่การขยายตัวของการผลิต การจ้างงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างนวัตกรรม และการเพิ่มขึ้นของมูลค่าทางการค้า ดังนั้น ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องส่งเสริมการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาคที่ดีและกำหนดนโยบายการลงทุนที่เกื้อหนุนให้เกิดพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว อย่างไรก็ตามหลายประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่สูงขึ้นได้เริ่มหันมาให้ความสนใจกับคุณภาพของกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น
โดยประเด็นสำคัญที่กลายเป็นมิติใหม่ของการลงทุนของประเทศต่างๆ ในปัจจุบันซึ่งเป็นประเด็นเชิงนโยบายในระดับประเทศที่เชื่อมโยงกับการลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในบริบทของอาเซียนในแต่ละประเทศจะนำไปพิจารณาในรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น การเจรจาและจัดทำความตกลงด้านการลงทุนระหว่างประเทศ (International Investment Agreement: IIAs) การเสริมสร้างสมรรถนะแก่บุคลากรด้านนโยบายการลงทุนระหว่างประเทศ (Capacity Building on Investment Policy) และการส่งเสริมการลงทุนในสาขาเป้าหมาย (Investment Promotion of Target Sectors) ที่จะส่งผลต่อการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของแต่ละประเทศ ซึ่งต่างเป็นประเด็นการพัฒนาที่มีนัยสำคัญเพื่อจะผลักดันให้เกิดการพัฒนาประเทศและภูมิภาคในองค์รวมที่ยั่งยืนในระยะยาวต่อไป
การลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงเป็นกระแสการพัฒนาแนวใหม่ที่ย่อมส่งผลต่อวิวัฒนาการของนโยบายการพัฒนาและการลงทุนของประเทศต่างๆ ในระยะต่อไป และที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development: UNCTAD) ได้ดำเนินการพัฒนาและจัดทำรายงานเกี่ยวกับกรอบนโยบายการลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Investment Policy Framework for Sustainable Development: IPFSD) อันสะท้อนถึงการให้ความสำคัญและต้องการผลักดันแนวทางดังกล่าวกับอารยประเทศเป็นการนำร่องเบื้องต้นไว้แล้ว ซึ่งแนวทางดังกล่าวจึงควรนำมาปรับประยุกต์กับประเทศในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้นเพื่อจะสามารถยกระดับการพัฒนาไปสู่ระดับที่สูงขึ้นในอนาคต อันนำไปสู่การยกระดับประสิทธิภาพของก้าวย่างการพัฒนาของภูมิภาคที่มุ่งสู่ความยั่งยืนในทุกมิติของการพัฒนา รวมถึงความมั่นคงและความเข้มแข็งของภูมิภาคในระยะยาวต่อไป
สถาบันฯ จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะนำองค์ความรู้จากงานวิจัยเรื่อง “การประเมินนโยบายการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียนตามกรอบนโยบายการลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Investment Policy Framework for Sustainable Development UNCTAD) และเรื่อง “การวิเคราะห์บทบาทภาคการเงิน
เพื่อสนับสนุนเป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืนในอาเซียน) มาพัฒนาจัดทำเป็นหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อนำไปสู่แนวปฏิบัติการ
การส่งเสริมศักยภาพการพัฒนาการลงทุนและสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจของแนวกรอบนโยบายการลงทุนกับการเชื่อมโยงของกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทของแต่ละประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถนำความรู้ แนวปฏิบัติของกรอบนโยบายการลงทุนไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานในทุกภาคส่วนในการสนับสนุนนโยบายการลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- เพื่อนำงานวิจัยที่สถาบันได้จัดทำขึ้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่
- เรื่อง การประเมินนโยบายการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียนตามกรอบนโยบายการลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Investment Policy Framework for Sustainable Development UNCTAD)
- เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์บทบาทภาคการเงินเพื่อสนับสนุนเป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืนในอาเซียน
- เรื่อง การพัฒ นาการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศภายใต้ข้อตกลง ACIA (ASEAN Comprehensive Investment Agreement)
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมในการกำหนดแนวทางการนำนโยบายการลงทุนที่สอดคล้องกับกรอบนโยบายการลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืนไปกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อเพิ่มศักยภาพยกระดับการพัฒนามุ่งสู่การขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่ยั่งยืนในระยะยาว
- งานวิจัยของสถาบันฯ เรื่อง การประเมินนโยบายการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียนตามกรอบนโยบายการลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Investment Policy Framework for Sustainable Development UNCTAD), เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์บทบาทภาคการเงินเพื่อสนับสนุนเป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืนในอาเซียน และเรื่อง การพัฒ นาการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศภายใต้ข้อตกลง ACIA (ASEAN Comprehensive Investment Agreement) ได้ถูกนำไปปรับประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคการเงิน นักวิชาการ ผู้ประกอบการ ที่มีบทบาทในการกำหนดทิศทางด้านนโยบาย และส่งเสริมด้านการลงทุน และผู้รับผิดชอบงานด้านวิเคราะห์วางแผน และขยายโอกาส
การลงทุนเพื่อดำเนินธุรกิจไปยังประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ระยะเวลา / วัน เวลา และสถานที่
วันที่ 9 – 10 เมษายน 2561 ณ โรงแรมดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่
กำหนดการ
กำหนดการ_การลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เอกสารประกอบการบรรยาย
ผู้รับผิดชอบ
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)
ที่ปรึกษาโครงการ: ดร.กมลินทร์ พินิจภูวดล ผู้อำนวยการ
ดร.ปิยะพร เอี่ยมฐิติวัฒน์ รองผู้อำนวยการ (วิชาการ)
หัวหน้าโครงการ: ดร.สุพัชรา ดิษฐบรรจง ผู้อำนวยการสำนักจัดการองค์ความรู้
เจ้าหน้าที่โครงการ: นายนันทวุฒิ นุ่นสพ นักบริหารงานทั่วไปอาวุโส
ลงทะเบียนกิจกรรม
วันที่เริ่มกิจกรรม :
วันสิ้นสุดกิจกรรม :