บทความวิชาการ
view 507 facebook twitter mail

มาตรการ ‘ห้ามส่งออกสินค้าเกษตร’ ในภาวะเงินเฟ้อ

เกี่ยวกับเอกสาร

โลกกำลังเผชิญกับวิกฤติเงินเฟ้อและความมั่นคงทางอาหารควบคู่กันซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2566 อินเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ได้ห้ามส่งออกข้าวที่ผลิตในประเทศ โดยยกเว้นเหลือแค่ข้าวบาสมาติกที่ยังสามารถส่งออกได้

เพื่อแก้ปัญหาราคาข้าวภายในประเทศที่สูงขึ้นอย่างมาก และเพื่อกักตุนข้าวให้มีปริมาณเพียงพอต่อการใช้ในประเทศเนื่องจากความกังวลว่าข้าวจะไม่เพียงพอจากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น และเพื่อตอบสนองการบริโภคของประชากรอินเดียกว่า 1,300 ล้านคน

กรณีดังกล่าวเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการที่ภาครัฐออกมาตรการบางอย่างเพื่อตอบสนองต่อวิกฤติราคาอาหารและปกป้องผู้บริโภคภายในประเทศจากความกังวลของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น แต่การกระทำนี้เป็นเพียงการแก้ปัญหาราคาในประเทศได้ในระยะสั้น แต่กลับสร้างความผันผวนให้กับราคาสินค้าในภาพรวมของตลาดโลกซึ่งกำลังฟื้นตัวจากวิกฤติสงครามรัสเซียบุกยูเครน

 ตลาดสินค้าเกษตรในโลกมีความเชื่อมโยงกันอย่างมาก การบังคับใช้มาตรการหรือนโยบายบางอย่างของประเทศหนึ่ง อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่ออีกภูมิภาคหนึ่ง จึงควรมีการศึกษารูปแบบการค้าที่เปลี่ยนไปหลังจากมีการใช้มาตรการต่อประเทศผู้นำเข้า นอกจากนี้ควรทำความเข้าใจปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว เพื่อเป็นกุญแจสำคัญในการหลีกเลี่ยงการนำไปใช้ในอนาคตได้

จากรายงานของผู้วิจัย Laborde และ Mamun ใน Asian Development Bank Institute (ADBI) ปี 2566 ได้ศึกษาเกี่ยวกับการตอบสนองทางนโยบายที่ส่งผลให้สถานการณ์แย่ลง โดยศึกษาการจำกัดการส่งออกของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยศึกษากรณี ข้าวสาลี ข้าว ข้าวโพด และน้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นพืชสำคัญที่มักอยู่ภายใต้ข้อจำกัดในการส่งออก

การวิเคราะห์มุ่งเน้นที่ 3 วิกฤติที่ผ่านมา ได้แก่ วิกฤติราคาอาหารปี 2551 วิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 และวิกฤติสงครามรัสเซีย-ยูเครน จากการศึกษาพบว่าประเทศผู้นำเข้าอาหารสุทธิ (นำเข้าอาหารมากกว่าส่งออก) มักเป็นประเทศกำลังพัฒนาซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปเอเชียได้รับผลกระทบมากที่สุดจากมาตรการดังกล่าว โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติโควิด-19

ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า การจำกัดการส่งออกสินค้าเกษตรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราเงินเฟ้อ โดยหากมีเงินเฟ้อในประเทศเกิดขึ้น ก็มีโอกาสสูงที่ประเทศผู้ส่งออกจะจำกัดการส่งออกถึง 38% ส่วนรายได้ต่อหัวกลับมีผลตรงข้ามต่อการจำกัดการส่งออก หากประเทศส่งออกมีรายได้สูงก็จะมีโอกาสต่ำในการจำกัดการส่งออก ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในเป็นกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบมาก โดยไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศเหล่านั้น รายงานศึกษานี้ได้เสนอว่าควรมีการแบ่งปันข้อมูลการคาดการณ์การผลิตและสินค้าคงคลังของผลผลิตที่ลดลง  ผู้กำหนดนโยบายและหน่วยงานที่บังคับใช้มาตรการควรให้ความสำคัญกับราคา  รวมทั้งควรมีการประสานระหว่างกันกับคู่ค้า เ

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

Top