รายงานสรุปเชิงนโยบาย
view 1352 facebook twitter mail

พลวัตของจีนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขงและนัยต่อประเทศไทย

เกี่ยวกับเอกสาร

บทบาทของจีนต่อกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) (1) จีนถือเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญและนักลงทุนรายใหญ่ในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) โดยปี 2556 ที่ผ่านมา จีนเป็นประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ เป็นอันดับ 2 ในไทย รองจากญี่ปุ่น และเป็นอันดับ 9 ในเวียดนาม โดยยังสามารถรักษาความเป็นคู่ค้าอันดับ 1 กับเวียดนามไว้ได้ ถึงแม้ว่าทั้งสองชาติมีปัญหาเรื่องพรมแดนในทะเลจีนใต้ ซึ่งการค้าระหว่างจีนกับเวียดนามขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า มีมูลค่ามากกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะเดียวกันประเทศจีนยังเป็นคู่ค้าอันดับต้น ๆ ของทุกประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) โดยเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย และเป็นตลาดนำเข้าอันดับ 1 ของเมียนมาร์และเวียดนาม (2) ในอนาคตคาดว่าบทบาททางเศรษฐกิจของจีนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) จะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจีนมีนโยบายที่จะสร้างความเชื่อมโยงกับภูมิภาค โดยผ่านการสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ที่สามารถยกระดับเป็นรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ทั้งเส้นทางผ่านเข้า สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ รวมถึงเส้นทางที่จะเชื่อมเข้าสู่เมียนมาร์และเวียดนาม ทำให้คาดว่าปริมาณการค้า การลงทุน และการเดินทางของผู้คนในอนุภูมิภาคนี้จะเพิ่มมากขึ้น (3) นายหลี่เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนคนปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) อย่างชัดเจน โดยกล่าวในงานประชุมสุดยอดอาเซียน – จีน ปี 2556 ณ ประเทศบรูไนว่า “China will strongly support to the development of the GMS and BIMP – EAGA, so as to narrow the development gap between ASEAN countries and promote ASEAN Community building” ปีที่พิมพ์ : 2557

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

Top