Hot News

คณะนักวิจัย ITD ลงพื้นที่ R12 (ด่านศุลกากรนครพนม)

visibility 293 facebook twitter mail

วันที่ 15 สิงหาคม 2566 นายวิมล ปั้นคง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและส่งเสริมการวิจัย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD ในฐานะหัวหน้าโครงการ Improved Cross-Border Paperless Trade Measure  ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์ ที่ปรึกษาโครงการ และคณะนักวิจัยของ สคพ. ร่วมกันคณะผู้ดำเนินงานโครงการ Establishment of Common Control Area  ของสปป.ลาว นำโดย Mr. Vangchai Vang, Deputy Director of Export and Import Department ผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนจากกรมศุลกากร สปป.ลาว ได้เข้าร่วมประชุมกับ นายอังกูร อังคะเจริญ ผอ.ส่วนควบคุมและตรวจสอบทางศุลกากร และนายศรุต ดิสราธิคม หัวหน้าฝ่ายควบคุมและตรวจสอบศุลกากร ซึ่งเป็นผู้แทนศุลกากรจังหวัดนครพนม ณ ด่านศุลกากรนครพนม

การประชุมดังกล่าวเพื่อประสานความร่วมมือกับเครือข่ายหน่วยงานภายใต้การดำเนินงานโครงการ Improved Cross-Border Paperless Trade Measure ในเส้นทาง R12 ภายใต้ ACMECS-ROK Branding Project Facilitating Cross-Border Trade Through Synchronization of Rule and Regulation in the ACMECS โดยด่านศุลกากร จังหวัดนครพนม ให้บริการด้านศุลกากรเป็นอิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบ National Single Window (NSW) ของไทย เป็นระบบของกรมศุลกากรที่ใช้ทั่วประเทศ มีเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้า การส่งออก และโลจิสติกส์ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ การบริการขอและพิจารณาออกใบอนุญาตและใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ เชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานของประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศอื่น ๆ รวมถึงการติดตามสถานะขั้นตอนทางศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ โดยฝ่ายที่ดูแลรับผิดชอบระบบดังกล่าวคือ กองบริหารจัดการและพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ ซึ่งการพัฒนาการอำนวยความสะดวกทางการค้าให้เป็นการค้าไร้กระดาษนั้นสามารถประสานขอข้อมูลเพิ่มเติมได้จากกองที่ดูแลเฉพาะข้างต้นได้ นอกจากนี้ด้วยปัจจุบันการขนส่งสินค้าผ่านด่านพรมแดนนครพนมมีจำนวนมากขึ้น การพัฒนาด้านศุลกากรให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ตลอดเส้นทาง R12 จะช่วยให้การขนส่งสินค้าผ่านแดนและข้ามแดนรวดเร็วขึ้น ทั้งนี้แต่ละประเทศทั้งไทย สปป.ลาว เวียดนาม จีน ยังมีการใช้เป็นเอกสารอยู่ แม้ว่าจะมีการยื่นแบบฟอร์มเป็นออนไลน์ได้ แต่การนำเข้าส่งออกในบางจุดผ่านแดน และบางสินค้ายังต้องพิมพ์เป็นเอกสารไปพร้อมกับรถขนส่งและยื่นในแต่ละด่านเพื่อเป็นการยืนยันความถูกต้องด้วย ดังนั้นการพัฒนาให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ต้องมีการหารือร่วมกันในระดับรัฐบาลเพื่อตกลงร่วมกันว่าจะใช้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ศุลกากรจังหวัดนครพนมและแขวงคำม่วน สปป.ลาว มีการนัดประชุมและหารือกันอย่างต่อเนื่องในการจัดการด้านศุลกากรระหว่างกัน อย่างไรก็ตามการขนส่งผ่านเส้นทางดังกล่าวยังต้องพัฒนาถนนในบางจุด เช่น ระยะทาง 18 กิโลเมตรก่อนถึงด่านจาลอ เวียดนาม ที่ถนนยังขรุขระ มีหินและดินถล่มโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เป็นปัญหาสำคัญต่อการขับรถขนส่งสินค้า

Top